ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมความรู้ทั่วไป  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก
เทคโนโลยีคัดกรองตัวอ่อน ความหวังใหม่ของคนอยากมีลูก (ปลอดโรคทางพันธุกรรม)
ความรู้ทั่วไป 29 พ.ค. 2552 เปิดอ่าน : 11,768 ครั้ง
☰แชร์เลย >  
เพิ่มเพื่อน
Advertisement

เทคโนโลยีคัดกรองตัวอ่อน ความหวังใหม่ของคนอยากมีลูก (ปลอดโรคทางพันธุกรรม)
Advertisement

การที่คู่แต่งงานจะมีลูกสักคน เพื่อให้ได้ลูกที่เกิดมาอวัยวะครบ 32 สมบูรณ์แข็งแรง และปลอดจากโรคติดต่อทางพันธุกรรมนั้นถือเป็นเรื่องเสี่ยง...

แต่ด้วยเทคโนโลยี วิวัฒนาการสมัยใหม่ของ "การคัดกรองตัวอ่อน" ที่สามารถคัดเลือกตัวอ่อนที่แข็งแรง และปลอดโรคติดต่อทางพันธุกรรม ทำให้เกิดการปฏิสนธิตามธรรมชาติแล้วคัดเลือกตัวอ่อนที่ปลอดโรคทางพันธุกรรมนำกลับเข้าไปใส่เข้าไปในมดลูกเพื่อให้เกิดการตั้งครรภ์ตามธรรมชาติ เทคโนโลยีที่ว่านี้คือ PGD-PCR

ซึ่ง นพ.สมเจตน์ มณีปาลวิรัตน์ สูตินรีแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญศูนย์เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์และวินิจฉัยพันธุกรรม ตัวอ่อน ซูพีเรีย เอ.อาร์.ที อธิบายว่า เทคโนโลยีพีจีดี (PGD-Preimplantation Genetic Diagnosis) คือการวินิจฉัยความผิดปกติของสารพันธุกรรมของตัวอ่อน ซึ่งในระดับโครโมโซมจะตรวจด้วยเทคนิคการย้อมโครโมโซมด้วยสีเรืองแสง (FISH) และพีซีอาร์ (Polymerase Chain Reaction) ตรวจคัดกรองทางพันธุกรรมในเชิงลึกระดับยีน ซึ่งในไทยถือเป็นนวัตกรรมใหม่ทางการแพทย์ เป็นทางเลือกใหม่ให้ครอบครัว คู่รัก ที่อาจเป็นพาหะของโรคพันธุกรรม แล้วไม่กล้าเสี่ยงจะมีลูก สามารถมีลูกได้ อย่างมั่นใจได้ว่าทารกจะไม่ได้รับความผิดปกติทางพันธุกรรมจากพ่อ แม่ เช่น ธาลัสซีเมีย ฮีโมฟีเลีย หรือมะเร็งทางพันธุกรรมบางชนิด เป็นต้น

นพ.สมเจตน์ มณีปาลวิรัตน์


คุณหมอสมเจตน์บอกว่า การตรวจพันธุกรรมของตัวอ่อนมี 2 ระดับ คือระดับโครโมโซม และระดับยีน โดยยีนถือเป็นส่วนย่อยของโครโมโซม โรคบางโรคเกิดจากโครโมโซมที่ผิดปกติ เช่น ดาวน์ซินโดรม (ความผิดปกติของโครโมโซมที่เกินมาทั้งแท่ง) เป็นการตรวจเพียงแค่ระดับโครโมโซม แต่โรคบางโรค เช่น ธาลัสซีเมีย ฮีโมฟีเลีย หรือมะเร็งพันธุกรรมบางชนิด จะเกิดในระดับยีนที่อยู่ลึกเข้าไปอีก การตรวจวินิจฉัยจะต้องใช้วิธีการตรวจแบบ PGD-PCR

การทำพีจีดีนั้นเมื่อสามารถคัดเลือกตัวอ่อนที่ปกติแล้วนำตัวอ่อนกลับคืนสู่มดลูกให้ฝังตัวเกิดเป็นการตั้งครรภ์ โดยทารกที่เกิดมานั้นสามารถมั่นใจได้ว่าไม่มีความผิดปกติของโครโมโซม เพราะได้ทำการตรวจก่อนแล้ว แนะในรายที่มีภาวะเสี่ยงต่อการที่ทารกจะเกิดมามีความผิดปกติ เช่น ในคู่สมรสที่เป็นพาหะของโรคพันธุกรรม ในรายที่มารดาอายุมากหรือเคยมีบุตรเป็นดาวน์ซินโดรมมาก่อนก็จะทำการตรวจโครโมโซมคู่ที่ 21 ให้ หากตัวอ่อนมีโครโมโซมปกติจึงจะใส่กลับคืนเข้าไปในมดลูกให้ตั้งครรภ์ต่อไป หรือมารดาที่เป็นพาหะของโรคเลือดออกไม่หยุดซึ่งถ้าให้กำเนิดลูกชายจะต้องเป็นโรคนี้ จึงต้องทำการคัดเลือกเพศตัวอ่อนให้เป็นลูกสาวก่อน แล้วจึงย้ายตัวอ่อนไปใส่ไว้ในมดลูก เนื่องจากหากทารกเป็นเพศหญิงจะไม่เป็นโรคนี้ เป็นต้น



สูตินรีแพทย์อธิบายขั้นตอนและวิธีการตรวจและคัดกรองตัวอ่อน ว่าฝ่ายภรรยาจะต้องได้รับฮอร์โมนเพื่อกระตุ้นรังไข่ให้ผลิตไข่ที่สมบูรณ์โดยปกติจะได้ไข่ประมาณ 10-20 ใบ หลังจากนั้นจะนำไข่ออกมาโดยการเจาะดูดไข่ผ่านทางช่องคลอด แล้วนำมาทำการปฏิสนธิกับอสุจิของสามีภายนอกร่างกาย แล้วเลี้ยงตัวอ่อนในห้องทดลองประมาณ 5 วันจนได้ตัวอ่อนระยะบลาสโตซิสท์ ซึ่งมีจำนวนเซลล์มากกว่า 100 เซลล์ จากนั้นจะดูดเซลล์รอบนอกของตัวอ่อนออกมา 4-5 เซลล์เพื่อทำการตรวจความผิดปกติของยีนด้วย เทคนิคการเพิ่มปริมาณชิ้นส่วนของดีเอ็นเอภายในหลอดทดลองให้มีปริมาณมากเพียงพอ (PCR) เพื่อที่จะตรวจสอบความผิดปกติของตัวอ่อนดังกล่าวได้ หลังจากนั้นจึงใส่ตัวอ่อนที่ไม่มีความผิดปกติของสารพันธุกรรมกลับคืนสู่โพรงมดลูก เพื่อให้ไปฝังตัวเกิดเป็นการตั้งครรภ์ต่อไป

"เดิมทีเราไม่รู้ว่าเด็กจะมีโอกาสเป็นโรคทางพันธุกรรมหรือไม่ จนคลอดออกมา หรือมีเพียงแค่เทคโนโลยีเบื้องต้นในการตรวจหาความผิดปกติตอนตั้งครรภ์ได้ 4-5 เดือน แต่เทคโนโลยีการเข้าไปวินิจฉัยและตรวจตั้งแต่ยังเป็นตัวอ่อนก่อนฝังตัว รู้ได้ว่าตัวอ่อนจะเป็นโรคหรือไม่ สามารถเลือกตัวอ่อนที่ไม่เป็นโรคใส่เข้าไปในมดลูกเด็กที่คลอดออกมาก็จะไม่เป็นโรค ส่วนตัวอ่อนที่เป็นโรคจะไม่นำใส่เข้าไป ถ้าถามว่าเราทำให้เด็กไม่มีโรคได้หรือเปล่า ไม่ใช่ เพียงแค่ตรวจตัวอ่อนที่เกิดจากการปฏิสนธิว่ามีโรคหรือไม่ และหลีกเลี่ยงการใส่ตัวอ่อนที่มีโรคกลับเข้าสู่โพรงมดลูก บางคนมาถามว่าอยากมีลูกที่ตาสีฟ้า ผมบรอนด์ สูงต่ำ ดำขาว ตรงนี้ทำได้ไหม บอกเลยว่า เทคโนโลยีทำพีจีดี และพีซีอาร์ ไม่สามารถคัดเลือกตัวอ่อนตรงนี้ได้" นพ.สมเจตน์กล่าว

แต่สามารถลดอัตราเกิดของทารกที่มีความผิดปกติของพันธุกรรมผิดปกติจากพ่อและแม่อย่างได้ผล ที่ผ่านมามีคู่สมรสทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศที่ได้รับการรักษาด้วยเทคโนโลยีนี้

ศูนย์เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์และวินิจฉัยพันธุกรรม ตัวอ่อน ซูพีเรีย เอ.อาร์.ที เป็นความร่วมมือระหว่างซิดนีย์ ไอ วี เอฟ ประเทศออสเตรเลีย สถาบันช่วยการเจริญพันธุ์ของออสเตรเลีย กับกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาภาวะมีบุตรยากชาวไทย ร่วมทำวิจัย ศึกษาค้นคว้าการตรวจวินิจฉัยด้านพันธุกรรมของตัวอ่อน หากครอบครัว คู่สมรสที่กำลังวางแผนการมีลูก อยากทราบว่าตนเอง-คู่สมรสเป็นพาหะนำโรคหรือไม่ เสี่ยงที่ทารกจะได้รับโรคทางพันธุกรรม สามารถปรึกษาแพทย์และทีมงานผู้เชี่ยวชาญ ทั้งศึกษาข้อมูลต่างๆ โทร.0-2255-4848 

ขอบคุณข้อมูลจาก : www.thaisuperiorart.com


Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

"ส้นเท้าแตก" เกิดจากอะไร และมีวิธีรักษาอย่างไร

"ส้นเท้าแตก" เกิดจากอะไร และมีวิธีรักษาอย่างไร
เปิดอ่าน 1,397 ครั้ง
วาซาบิ

วาซาบิ
เปิดอ่าน 11,348 ครั้ง
"ร้ายยิ่งขึ้น" มันมาแล้ว "ภัยธรรมชาติ" เรียงแถว "ถล่มไทย!"

"ร้ายยิ่งขึ้น" มันมาแล้ว "ภัยธรรมชาติ" เรียงแถว "ถล่มไทย!"
เปิดอ่าน 10,542 ครั้ง
ว.วชิรเมธี – มาร์ค ผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น ปี 2553

ว.วชิรเมธี – มาร์ค ผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น ปี 2553
เปิดอ่าน 11,197 ครั้ง
สุภาษิต-คำพังเพยเข้าถึงเด็กไทย แนะใช้บ่อย-สื่อเห็นภาพจริง

สุภาษิต-คำพังเพยเข้าถึงเด็กไทย แนะใช้บ่อย-สื่อเห็นภาพจริง
เปิดอ่าน 75,445 ครั้ง
ขาเที่ยวเฮอีก ปี59 วันหยุดยาวเพียบเฉพาะสงกรานต์ฟาดรวดเดียว 5 วัน

ขาเที่ยวเฮอีก ปี59 วันหยุดยาวเพียบเฉพาะสงกรานต์ฟาดรวดเดียว 5 วัน
เปิดอ่าน 24,264 ครั้ง
ปริญญาโทกับคนทำงาน ….สำคัญจริงหรือ?

ปริญญาโทกับคนทำงาน ….สำคัญจริงหรือ?
เปิดอ่าน 9,893 ครั้ง
5 สไตล์การกินเพื่อสุขภาพดี

5 สไตล์การกินเพื่อสุขภาพดี
เปิดอ่าน 10,822 ครั้ง
สรุปเหตุการณ์แผ่นดินไหว8.9ริคเตอร์

สรุปเหตุการณ์แผ่นดินไหว8.9ริคเตอร์
เปิดอ่าน 9,127 ครั้ง
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ปี 58 ใน 7 สาขา 32 รายการ มีอะไรบ้าง คลิกเลย

มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ปี 58 ใน 7 สาขา 32 รายการ มีอะไรบ้าง คลิกเลย
เปิดอ่าน 22,095 ครั้ง
ตับของเธอ สบายดีไหม?

ตับของเธอ สบายดีไหม?
เปิดอ่าน 10,396 ครั้ง
เปิด 10 เมนูสุขภาพ รับปี 2556 สไตล์อายุรวัฒน์

เปิด 10 เมนูสุขภาพ รับปี 2556 สไตล์อายุรวัฒน์
เปิดอ่าน 11,824 ครั้ง
7 เคล็ดลับผิวสว่างใส สำหรับสาวย่าง 30

7 เคล็ดลับผิวสว่างใส สำหรับสาวย่าง 30
เปิดอ่าน 15,031 ครั้ง
กระทรวงวัฒนธรรม เปิดดาวน์โหลดภาพหาชมยากของในหลวง กว่า 30,000 ภาพ

กระทรวงวัฒนธรรม เปิดดาวน์โหลดภาพหาชมยากของในหลวง กว่า 30,000 ภาพ
เปิดอ่าน 11,540 ครั้ง
เคล็ดลับการออกกำลังกายให้ได้ผล

เคล็ดลับการออกกำลังกายให้ได้ผล
เปิดอ่าน 47,587 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

เทคนิคเลิกกาแฟ สำหรับคนอยากเลิกกาแฟ
เทคนิคเลิกกาแฟ สำหรับคนอยากเลิกกาแฟ
เปิดอ่าน 18,816 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
ตารางชีวิตของผู้ประสบความสำเร็จ
ตารางชีวิตของผู้ประสบความสำเร็จ
เปิดอ่าน 12,196 ☕ คลิกอ่านเลย

เดิน วิ่ง เพื่อบำรุงสมอง
เดิน วิ่ง เพื่อบำรุงสมอง
เปิดอ่าน 11,009 ☕ คลิกอ่านเลย

"สับปะรด" ลดริ้วรอยบนใบหน้า
"สับปะรด" ลดริ้วรอยบนใบหน้า
เปิดอ่าน 10,734 ☕ คลิกอ่านเลย

เตือนภาชนะจากพลาสติก อันตรายต่อสมอง
เตือนภาชนะจากพลาสติก อันตรายต่อสมอง
เปิดอ่าน 9,217 ☕ คลิกอ่านเลย

อุทยานแห่งชาติภูสอยดาว
อุทยานแห่งชาติภูสอยดาว
เปิดอ่าน 8,691 ☕ คลิกอ่านเลย

ดอกไม้ 5 ชนิด พิชิตโรค
ดอกไม้ 5 ชนิด พิชิตโรค
เปิดอ่าน 17,986 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

ไข่ดิบมีประโยชน์จริงหรือ
ไข่ดิบมีประโยชน์จริงหรือ
เปิดอ่าน 9,426 ครั้ง

เมื่อ "ลาวา" ปะทะ "น้ำแข็ง" ผลลัพธ์จะเป็นอย่างไร ไปชมคลิปกัน
เมื่อ "ลาวา" ปะทะ "น้ำแข็ง" ผลลัพธ์จะเป็นอย่างไร ไปชมคลิปกัน
เปิดอ่าน 13,435 ครั้ง

วิธีเก็บมะนาวให้สดนาน
วิธีเก็บมะนาวให้สดนาน
เปิดอ่าน 25,937 ครั้ง

ร้อนนี้กินอย่างไร เย็นทั้งกาย สุขทั้งใจ
ร้อนนี้กินอย่างไร เย็นทั้งกาย สุขทั้งใจ
เปิดอ่าน 9,797 ครั้ง

Public Domain คืออะไร?
Public Domain คืออะไร?
เปิดอ่าน 31,231 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย


เว็บไซต์ที่น่าสนใจ

  • IELTS Test
  • SAT Test
  • สอบ IELTS
  • สอบ TOEIC
  • สอบ SAT
  • เว็บไซต์พันธมิตร

  • IELTS
  • TOEIC Online
  • chulatutor
  • เพลงเด็กอนุบาล
  •  
    หมวดหมู่เนื้อหา
    เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


    · Technology
    · บทความเทคโนโลยีการศึกษา
    · e-Learning
    · Graphics & Multimedia
    · OpenSource & Freeware
    · ซอฟต์แวร์แนะนำ
    · การถ่ายภาพ
    · Hot Issue
    · Research Library
    · Questions in ETC
    · แวดวงนักเทคโนฯ

    · ความรู้ทั่วไป
    · คณิตศาสตร์
    · วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
    · ภาษาต่างประเทศ
    · ภาษาไทย
    · สุขศึกษาและพลศึกษา
    · สังคมศึกษา ศาสนาฯ
    · ศิลปศึกษาและดนตรี
    · การงานอาชีพ

    · ข่าวการศึกษา
    · ข่าวตามกระแสสังคม
    · งาน/บริการสังคม
    · คลิปวิดีโอยอดนิยม
    · เกมส์
    · เกมส์ฝึกสมอง

    · ทฤษฎีทางการศึกษา
    · บทความการศึกษา
    · การวิจัยทางการศึกษา
    · คุณครูควรรู้ไว้
    · เตรียมประเมินวิทยฐานะ
    · ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
    · เครื่องมือสำหรับครู

    ครูบ้านนอกดอทคอม

    เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

          kroobannok.com

    © 2000-2020 Kroobannok.com  
    All rights reserved.


    Design by : kroobannok.com


    ครูบ้านนอกดอทคอม
    การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

    วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
     

    ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

    เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

    Email : kornkham@hotmail.com
    Tel : 081-3431047

    สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
    คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ