ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมเรื่องราวจากสมาชิก  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน


เรื่องราวจากสมาชิก เปิดอ่าน : 6,310 ครั้ง
การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน

Advertisement

❝ การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน 1. ประวัติความเป็นมาของการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน 2. ความหมายของการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน 3. หลักการพื้นฐานในการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน 4. รูปแบบของการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน 5. แนวทางการดำเนินการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน 6. กลยุทธ์สู่ความสำเร็จของการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน 7. ปัญหาและอุปสรรคในการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ❞  

ประวัติความเป็นมาของการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน

               

การปฏิรูประบบการบริหารการศึกษาที่เปลี่ยนจากการสั่งการจากบนลงล่าง (top - down)  เป็นการกระจายอำนาจการบริหารจัดการให้ท้องถิ่นและสถานศึกษามีอิสระในการบริหารจัดการหรือการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานนั้นเป็นแนวคิดที่ประเทศสหรัฐอเมริกาได้ริเริ่มมาในช่วงทศวรรษ  1970  และในต่างประเทศได้เริ่มดำเนินการในช่วงปลายทศวรรษ  1980 

ในปลายทศวรรษ  1980  ได้มีการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน  (School – Based  Management)  ในรูปแบบต่าง ๆ  จนกลายเป็นประเด็นร่วมและยุทธศาสตร์การปฏิรูปการศึกษาในส่วนต่าง    ของโลก  เช่น  ประเทศสหรัฐอเมริกา  สหราชอาณาจักรออสเตรเลีย  นิวซีแลนด์  สิงคโปร์  สาธารณรัฐเกาหลี  อิสราเอล  และฮ่องกง  ซึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดการกระจายอำนาจการบริหารจัดการส่วนกลางไปยังท้องถิ่นและสถานศึกษาในแต่ละประเทศคล้ายคลึงกัน  คือ  ความไร้ความสามารถที่จะตอบสนองความต้องการที่หลากหลายของผู้รับบริการได้ทันท่วงที  และความล้มเหลวเรื่องคุณภาพการจัดการศึกษา  (อุมัร  สวาหลัง,  2546 : 12-13)    

การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน  (School – Based  Management)  ได้รับอิทธิพลมาจากกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกธุรกิจ  อุตสาหกรรม  ที่ประสบความสำเร็จจากหลักการ  วิธีการ  และกลยุทธ์ในการทำให้องค์การมีประสิทธิภาพ  ผลการปฏิบัติงานมีคุณภาพ  สร้างกำไรและสร้างความพึงพอใจแก่ลูกค้าและผู้เกี่ยวข้องยิ่งขึ้น  ความสำเร็จดังกล่าวนี้ทำให้ประชาชนและผู้เกี่ยวข้องเห็นว่า  การพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้ดีขึ้นนั้นต้องปรับกระบวนการและวิธีการที่เคยเน้นแต่เรื่องการเรียนการสอน  ปรับไปสู่การบริหารโดยการกระจายอำนาจไปยังโรงเรียนที่เป็นหน่วยปฏิบัติ  และให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้มีส่วนร่วมในการบริหารและจัดการศึกษาอย่างแท้จริง  (สมศักดิ์  คงเที่ยง,  2544 : 141-142)

สำหรับการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน  (School – Based  Management :  SBM)  ในประเทศไทยนั้นเริ่มปรากฏชัดเจนขึ้นหลังจากที่รัฐบาลประกาศใช้พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ  ..  2542  แต่ก็ใช่ว่าประเทศไทยจะไม่ดำเนินการบริหารตามแนวทางการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน  (School – Based  Management : SBM)  เลยเสียทีเดียว  ถึงแม้ว่าในภาพรวมของการบริหารการศึกษาของไทยก่อนการประกาศใช้พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ  ..  2542  จะอยู่ในลักษณะของการรวมอำนาจไว้ที่ส่วนกลาง  ขาดเอกภาพในการบริหาร  ขาดการมีส่วนร่วมของประชาชน  และขาดการพัฒนาอย่างเป็นระบบและไม่มีระบบประกันคุณภาพและมาตรฐานที่ชัดเจน  ตลอดจนขาดความเชื่อมโยงกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานอื่น  (อุทัย  บุญประเสริฐ,2543  อ้างถึงใน  อุมัร  สวาหลัง, 2546 : 25)   

แนวทางการปฏิรูประบบบริหารการศึกษาเพื่อกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาจากส่วนกลางไปยังสถานศึกษากระจายไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  และให้ชุมชนมีบทบาทและส่วนร่วมในการบริหารจัดการศึกษา  โดยมุ่งหวังให้การกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะเพิ่มประสิทธิผลและประสิทธิภาพในการจัดการศึกษาเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการ  ปรากฏชัดเจนตามมาตรา  39  แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ  ..  2542  ที่ระบุว่า  ให้กระทรวงกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาทั้งด้านวิชาการ  งบประมาณ  การบริหารงานบุคคลและการบริหารทั่วไป  ไปยังคณะกรรมการและสำนักงานการศึกษา  ศาสนาและวัฒนธรรมเขตพื้นที่การศึกษา  และสถานศึกษาในเขตการศึกษาโดยตรง…”  (อุทัย  บุญประเสริฐ,2546 : 1)

การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน  (School – Based  Management  :  SBM)  เป็นรูปแบบการบริหารโรงเรียนที่ได้รับความสนใจในวงการบริหารโรงเรียนมากในปัจจุบัน  เพราะเป็นรูปแบบที่น่าจะสอดคล้องกับแนวทางการบริหารตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ  ..  2542  และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2)  ..  2545  มาก  (ธีระ  รุญเจริญ,  2550 : 162 - 163)      

การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน  (School – Based  Management  :  SBM)  เป็นยุทธศาสตร์หนึ่งของการพัฒนาการศึกษาโดยการถ่ายโอนอำนาจการตัดสินใจจากรัฐหรือเขตพื้นที่การศึกษาไปยังสถานศึกษาต่าง    การบริหารสถานศึกษาแบบ  การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน  (School – Based  Management  :  SBM)  จะทำให้ผู้บริหารสถานศึกษา  ครู  นักเรียนและผู้ปกครองเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการจัดการศึกษามากขึ้นด้วยการให้เขาเหล่านั้นรับผิดชอบในการตัดสินใจในเรื่องงบประมาณ  บุคลากรและหลักสูตร  นอกจากการมีส่วนร่วมตัดสินใจในเรื่องดังกล่าวของครู  ผู้ปกครอง  และสมาชิกในชุมชนแล้ว  การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน  (School – Based  Management  :  SBM)   ยังเพิ่มประสิทธิภาพของบรรยากาศการเรียนรู้ให้กับเด็กด้วย  (สมศักด์  คงเที่ยง,  2544 :  141)

 

ความหมายของการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน

 

การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานใช้อักษรย่อ “SBM” มาจากคำเต็ม และมีความหมายดังนี้

S             School                   เป็นคำนาม           แปลว่า โรงเรียน

B             Based                     เป็นคำคุณศัพท์    แปลว่า  เกี่ยวกับฐานหรือพื้นฐาน

M            Management        เป็นคำนาม           แปลว่า   การบริหารและการจัดการ

ดังนั้น School-Based Management จึงแปลความหมายว่า การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน  หรือการใช้โรงเรียนเป็นฐานในการบริหารและการจัดการ  หรือการบริหารจัดการศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน  ซึ่งเกิดจากแนวความคิดเรื่องปฏิรูปการศึกษา และการกระจายอำนาจทางการศึกษา

นักวิชาการหลายท่านให้แนวคิดเกี่ยวกับความหมายของการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน(School-Based Management หรือ Site Based Management :SBM )ไว้ดังนี้

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ  (2544 : 2) ได้ให้ความหมายไว้ว่า  การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน  หมายถึง  การบริหาร  และการจัดการศึกษาที่หน่วยปฏิบัติ  โดยมีโรงเรียนเป็นฐาน  หรือ  เป็นองค์กรหลักในการจัดการศึกษา  ซึ่งจะต้องมีการกระจายอำนาจการบริหาร  และการจัดการศึกษาจากส่วนกลางไปยังโรงเรียน  ให้โรงเรียนมีอำนาจ  หน้าที่ความรับผิดชอบ  มีความอิสระคล่องตัวในการบริหารจัดการ  ทั้งด้านวิชาการ  งบประมาณ  บุคลากร และการบริหารทั่วไป  ภายใต้คณะกรรมการโรงเรียน ( School Board ) หรือ School Committee เก่า ผู้แทนนักเรียน  และผู้บริหารโรงเรียน  เพื่อให้การจัดการศึกษาเป็นไปโดยมีส่วนร่วม  และตรงตามความต้องการของผู้เรียน  ผู้ปกครอง  และชุมชนมากที่สุด

กรมสามัญศึกษา (2545 : 9) ให้ความหมายว่า  การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน  คือ  แนวคิดทางการบริหาร  และการจัดการศึกษาที่ให้สถานศึกษาเป็นองค์กรหลักในการจัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพ  ภายใต้กรอบของกฎหมายที่กำหนด  โดยมีการกระจายอำนาจการตัดสินใจที่จะพัฒนา  นโยบาย  วิสัยทัศน์  พันธกิจ  และเป้าประสงค์ของสถานศึกษา  และร่วมมือดำเนินการทั้งด้าน  วิชาการ  งบประมาณ  บุคลากร  และการบริการทั่วไป  โดยบุคคลที่มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างเท่าเทียมกัน  โดยมุ่งเน้นผลผลิต  ผลลัพธ์  และผลกระทบที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนเป็นสำคัญ  ภายใต้การมีส่วนร่วม  และการตรวจสอบของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

ถวิล  มาตรเลี่ยม (2544 : 41) กล่าวว่า  การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน  หมายถึง  การบริหารจัดการโรงเรียนที่สอดคล้องกับคุณลักษณะ  และความต้องการของโรงเรียน   นั่นคือ  สมาชิกโรงเรียน  อันได้แก่  คณะกรรมการบริหารโรงเรียน  ผู้บริหารโรงเรียน  ครู  อาจารย์  พ่อแม่  ผู้ปกครอง  นักเรียน  ตลอดจนสมาชิกชุมชน  และองค์การอื่น ๆ มารวมพลังกันอย่างเต็มที่ รับผิดชอบต่อการใช้ทรัพยากร  และการแก้ปัญหา  ตลอดจนดำเนินการเพื่อการพัฒนา  กิจกรรมด้านการจัดการศึกษาของโรงเรียน  ในระยะสั้น  และระยะยาว

เสริมศักดิ์  วิศาลาภรณ์ (2541, อ้างถึงใน  อุทัย  บุญประเสริฐ, 2545 : 2) ให้ความหมายว่า  การบริหาร  และการจัดการศึกษาที่ใช้โรงเรียนเป็นฐาน  คือ  การจัดการศึกษาที่ใช้โรงเรียนเป็นศูนย์กลาง  (School – Centered Administration) โดยผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการจัดการศึกษา  ได้แก่  ผู้บริหาร  ครู  ผู้ปกครอง  ชุมชน  และนักเรียนได้เข้ามามีบทบาทในการให้คำแนะนำ  การช่วยเหลือการประเมิน  และการอนุมัติ  โดยใช้หลักการบริหารแบบมีส่วนร่วม  ผู้บริหารเป็นเพียงผู้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ  และการนำมติในที่ประชุมไปใช้ในการจัดการศึกษา

อุทัย  บุญประเสริฐ (2545 : 1) กล่าวว่า  การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน  เป็นกลยุทธ์ในการปรับปรุงการศึกษา  โดยเปลี่ยนอำนาจหน้าที่ในการตัดสินใจจากส่วนกลางไปยังแต่ละโรงเรียน  โดยให้คณะกรรมการโรงเรียนซึ่งประกอบด้วยผู้ปกครอง  ครู  สมาชิกในชุมชนผู้ทรงคุณวุฒิ  ศิษย์เก่า  และผู้บริหารโรงเรียน  (บางโรงเรียนอาจมีตัวแทนนักเรียนเป็นกรรมการด้วย)  ได้มีอำนาจในการบริหารจัดการศึกษาในโรงเรียนมีหน้ามีหน้าที่  และความรับผิดชอบในการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับงบประมาณ  บุคลากร  และวิชาการ  โดยให้เป็นไปตามความต้องการของนักเรียน  ผู้ปกครอง  และชุมชน

จากความหมายที่นักวิชาการทางการศึกษาได้ให้ไว้ข้างต้น  สรุปได้ว่า  การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน  เป็นการกระจายอำนาจการจัดการศึกษาจากส่วนกลาง ไปยังหน่วยปฏิบัติ  คือ  สถานศึกษาโดยตรง  โดยให้สถานศึกษามีอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบ  มีความอิสระในการตัดสินใจ  และบริหารจัดการทั้งในด้าน  วิชาการ  งบประมาณ  การเงิน  บุคลากร  และการบริหารทั่วไป  โดยยึดหลักการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษา  ซึ่งประกอบด้วย  ผู้บริหารสถานศึกษา  ผู้ทรงคุณวุฒิ  ตัวแทนครู  ตัวแทนชุมชน  ตัวแทนศิษย์เก่า    ร่วมกันบริหารสถานศึกษาให้เป็นไปตามความต้องการของผู้เรียน  และชุมชนมากที่สุด

 

หลักการพื้นฐานในการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน

 

                                มีนักวิชาการกล่าวถึงหลักการสำคัญในการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานไว้หลาย ๆ  ท่านด้วยกัน  ดังนี้

                                เดวิด  (David , 1989  อ้างถึงใน  Cheng ,  1996 : 4)  กล่าวว่า  การบริหารโดยการใช้โรงเรียนเป็นฐานต้องประกอบไปด้วยแนวคิดหลักสำคัญ  2  ประการ  คือ

                                1.  โรงเรียนเป็นหน่วยสำคัญสำหรับตัดสินใจ  ซึ่งการตัดสินใจสั่งการที่ดีควรอยู่ในหน่วยปฏิบัติ  จึงควรเพิ่มอำนาจในการบริหารและจัดการงบประมาณให้กับโรงเรียนมากขึ้น และลดการควบคุมจากส่วนกลางลง

                                2.  การมีส่วนร่วมและการมีความรู้สึกเป็นเจ้าของเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับการปฏิรูปการบริหารการจัดการศึกษา  ความสำเร็จของการปฏิรูปไม่ใช่เกิดจากการควบคุมจากภายนอก  หากแต่เกิดจากการที่สมาชิกในโรงเรียนและชุมชนให้ความร่วมมือกันในการตัดสินใจการบริหาร  และการปฏิบัติงาน

ถวิล  มาตรเลี่ยม  (2544  :  42)  กล่าวถึงหลักการสำคัญของการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานไว้  4  ประการ  ดังนี้

1.       หลักดุลยภาพ

2.       หลักการกระจายอำนาจ

3.       หลักระบบบริหารจัดการตนเอง

4.       หลักการริเริ่ม

ธเนศ  ขำเกิด  (2545  :  149)  กล่าวถึง  หลักการสำคัญของการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานไว้  5  ประการ  คือ

1.       การกระจายอำนาจ

2.       การมีส่วนร่วมและการร่วมคิดร่วมทำ

3.       การบริหารตนเอง

4.       การตรวจสอบและถ่วงดุล

5.       การยึดหลักธรรมาภิบาล

อุทัย  บุญประเสริฐ  (2543  :  154 156 )  ได้กล่าวถึงหลักการสำคัญของการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานไว้  5  ประการ  คือ 

1.       หลักการกระจายอำนาจ

2.       หลักการมีส่วนร่วม

3.       หลักการคืนอำนาจการจัดการศึกษาให้ประชาชน

4.       หลักการบริหารตนเอง

5.       หลักการตรวจสอบและถ่วงดุล

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ  ( 2544 : 3-4)  การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานแต่ละแห่งอาจไม่เหมือนกัน  ขึ้นอยู่กับลักษณะเฉพาะและความจำเป็นของแต่ละโรงเรียนจะตั้งอยู่บนหลักการพื้นฐานเดียวกัน  คือ

1.       หลักการกระจายอำนาจ

2.       หลักการบริหารแบบมีส่วนร่วม

3.       หลักการบริหารตนเอง

4.       หลักการพัฒนาทั้งระบบ

5.       หลักความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้

6.       หลักการมีภาวะผู้นำแบบเกื้อหนุน

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา  (อ้างถึงใน ธีระ  รุญเจริญ, 2550  :  171)  ได้กล่าวถึงการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานมีหลักสำคัญ  3  ประการ  คือ

1.       หลักการกระจายอำนาจ  (Decentralization)

2.       หลักการบริหารแบบมีส่วนร่วม  (Participation)

3.       หลักการบริหารจัดการที่ดี  (Good  Govermance  in  Education)

จากหลักการทั้ง  3  ประการข้างต้น  สามารถกล่าวในรายละเอียดได้ดังต่อไปนี้

 

หลักการกระจายอำนาจ  (Decentralization)

 

การบริหารการใช้โรงเรียนเป็นฐานนั้นจะเป็นการบริหารที่เป็นการกระจายอำนาจดังที่  ธีระ  รุญเจริญ  (2550 : 166)  กล่าวว่า  การกระจายอำนาจ  คือ  อำนาจการจัดการศึกษาให้กับประชาชน  สำหรับประเทศไทยจะมีการกระจายอำนาจจากส่วนกลางและเขตพื้นที่การศึกษาไปยังสถานศึกษา

อุทัย  บุญประเสริฐ  (2546 : 189)  ได้กล่าวถึง  หลักการกระจายอำนาจ ว่าเป็นการ

กระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาให้มากที่สุด โดยมีความเชื่อว่าโรงเรียนเป็นหน่วยสำคัญในการจัดการศึกษาในการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการศึกษาของเด็ก  ซึ่งสอดคล้องกับแนวความคิดของ  อินทิรา  หิรัญสาย  (2544 : 4)  ที่กล่าวว่า  การกระจายอำนาจเป็นการาตัดสินใจ  และใช้อำนาจของสถานศึกษาผ่านคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  ในด้านวิชาการงบประมาณ  การบริหารงานบุคคล  และการบริหารทั่วไป  นอกจากนี้  ถวิล   มาตรเลี่ยม  (2544  :  42)  ยังกล่าวถึง  หลักการกระจายอำนาจตามแนวทางของ  SBM  ว่า  เมื่อสภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไป  จะส่งผลกระทบให้การบริหารจัดการโรงเรียน  การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนมีความยุ่งยากและเพิ่มปัญหามากขึ้น  ดังนั้น  การกระจายอำนาจให้โรงเรียนมีพลังอำนาจ  และรับผิดชอบในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นด้วยตนเอง  ให้มีประสิทธิภาพมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้  และส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น

ยุวดี  ศันสนียรัตน์  (2545  :  6)  กล่าวถึง  หลักการกระจายอำนาจตามแนวทางของ

SBM  ว่า  เป็นการตัดสินใจจากส่วนกลางที่สถานศึกษามีอำนาจตัดสินใจใน  3  เรื่องหลัก  คือ  งบประมาณ  และทรัพยากร  บุคลากร  หลักสูตร  หรือโปรแกรมการเรียน  โดยให้สถานศึกษามีความยืดหยุ่นในการจัดโปรแกรมการเรียนที่ตรงกับความต้องการของนักเรียนในพื้นที่นั้น ๆ  สอดคล้องกับแนวคิดของ  ธเนศ  ขำเกิด  (2544 : 149)  ที่ได้กล่าวว่า  การกระจายอำนาจนั้น  เป็นการกระจายอำนาจการจัดการศึกษาจากส่วนกลางไปยังสถานศึกษาให้มากที่สุด  โดยมีความเชื่อว่าโรงเรียนเป็นหน่วยสำคัญในการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการศึกษาของเด็ก  และนิพนธ์  เสือก้อน  (2545  : 5)  ยังกล่าวอีกว่า  การกระจายอำนาจนั้นเป็นการสร้างและเพิ่มพลังอำนาจ (Empowerment)  ในการจัดการศึกษาของผู้มีส่วนรับผิดชอบในประเด็นต่าง ๆ  ดังนี้

ผู้บริหารต้องใช้อำนาจกับทีมงาน  หรือบุคลากรในการทำงานอย่างเต็มที่  ทั้ง

อำนาจในการบริหารจัดการ  ความรับผิดชอบ  การบริหารทรัพยากร  และความชอบธรรมต่าง ๆ  ในขอบเขตของงานที่ได้รับมอบหมาย

1.  การกระจายความรับผิดชอบในการตัดสินใจให้กับสายงานในระดับต่ำลงไปจะต้องเกิดขึ้น  โดยที่ผู้บริหารไม่เข้าไปก้าวก่าย  หรือเข้าไปมีอิทธิพลเหนือการตัดสินใจของสมาชิก

2.  จะต้องเปลี่ยนความคิด  และการปฏิบัติในเรื่องของอำนาจ  การควบคุมที่เคยเป็นของผู้บริหารแต่เพียงผู้เดียว  มาเป็นการควบคุมด้วยกลุ่มสมาชิก  การควบคุมจึงเป็นของทุกคนในองค์การ

3.  องค์การจะต้องมีสภาพที่สมาชิกสร้างสรรค์งานได้อย่างเต็มความสามารถและ

ศักยภาพที่มีอยู่เพื่อให้บรรลุเป้าหมายขั้นพื้นฐานขององค์การ

รุ่ง  แก้วแดง (2546 : 64-65) ได้กล่าวว่า เจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการศึกษา

ปฎิรูปการเรียนรู้และหลักสูตร

 

ปฎิรูปครูและบุคลากร

 

ปฎิรูปการบริหาร

ทรัพยากร

 

ปฎิรูปการบริหาร

งานทั่วไป

แห่งชาติที่ให้มีการกระจายอำนาจ ทั้งด้านการบริหารงานวิชาการ การบริหารงานบุคคล การบริหารงบประมาณ และการบริหารทั่วไป สู่สถานศึกษาเพื่อเป้าหมายสูงสุด คือ คุณภาพผู้เรียน ดังนั้น เพื่อพัฒนาผู้เรียนผู้บริหารสถานศึกษาจะต้องเข้าใจในเป้าหมายและใช้อำนาจ ที่ได้รับมอบมาให้เกิดคุณภาพในผู้เรียนให้ได้ สามารถอธิบายได้ดังภาพประกอบ 1

 

 

                                                                                                                                                                                                                                                                                                                   &

โพสต์โดยสมาชิกหมายเลข 8773 วันที่ 10 ต.ค. 2552


การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

 Tip.....   Burnning Text จาก PHOTOSHOP

Tip..... Burnning Text จาก PHOTOSHOP


เปิดอ่าน 6,241 ครั้ง
เตือน!!..สึนามิปี52

เตือน!!..สึนามิปี52


เปิดอ่าน 6,243 ครั้ง
วันเกิดบอกความเจ้าชู้ได้

วันเกิดบอกความเจ้าชู้ได้


เปิดอ่าน 6,239 ครั้ง
 เคี้ยวนาน ฉลาดมาก

เคี้ยวนาน ฉลาดมาก


เปิดอ่าน 6,238 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

ความจริง 25 ประการ ที่รู้แล้วจะอึ้ง!???

ความจริง 25 ประการ ที่รู้แล้วจะอึ้ง!???

เปิดอ่าน 6,240 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
---->>>วิธีง้อคนรัก!!!!
---->>>วิธีง้อคนรัก!!!!
เปิดอ่าน 6,248 ☕ คลิกอ่านเลย

แผนการจัดการเรียนรู้ คำมูล
แผนการจัดการเรียนรู้ คำมูล
เปิดอ่าน 6,288 ☕ คลิกอ่านเลย

รวมของที่แพงที่สุดในโลก
รวมของที่แพงที่สุดในโลก
เปิดอ่าน 6,308 ☕ คลิกอ่านเลย

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปี สาระวิทยาศาสตร์  ม.3
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปี สาระวิทยาศาสตร์ ม.3
เปิดอ่าน 6,249 ☕ คลิกอ่านเลย

5 ข้อห้าม ห้ามทำตอนเข้านอน
5 ข้อห้าม ห้ามทำตอนเข้านอน
เปิดอ่าน 6,245 ☕ คลิกอ่านเลย

(Beauty Tips) 5 ข้อห้ามนี้ อย่าทำตอนแต่งหน้า!!
(Beauty Tips) 5 ข้อห้ามนี้ อย่าทำตอนแต่งหน้า!!
เปิดอ่าน 6,242 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล งวดประจำวันที่ 1 มิถุนายน 2552
ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล งวดประจำวันที่ 1 มิถุนายน 2552
เปิดอ่าน 15,190 ครั้ง

สรรพากร เผย รายการลดหย่อนภาษี ปี 2559 "ชุดใหญ่ ไฟกระพริบ"
สรรพากร เผย รายการลดหย่อนภาษี ปี 2559 "ชุดใหญ่ ไฟกระพริบ"
เปิดอ่าน 21,993 ครั้ง

มันมือเสือ
มันมือเสือ
เปิดอ่าน 24,551 ครั้ง

ล้างพิษตับ ขับสารพิษ...เทรนด์สุขภาพสุดฮิต พ.ศ. นี้
ล้างพิษตับ ขับสารพิษ...เทรนด์สุขภาพสุดฮิต พ.ศ. นี้
เปิดอ่าน 31,423 ครั้ง

กราฟิก (Graphic)
กราฟิก (Graphic)
เปิดอ่าน 16,992 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ