Advertisement
Advertisement
การนำเสนอข้อมูล สารสนเทศ ความรู้ หรือเนื้อหาเรื่องราวที่เป็นสาระสำคัญต่าง ๆ ให้ผู้อื่นที่เป็นผู้ฟังหรือผู้ชมรับรู้และเข้าใจรวมทั้งมีความสุขกับการรับ ฟังด้วยแล้วนับว่าเป็นความสามารถพิเศษอย่างหนึ่งของผู้นำเสนอหรือเป็นความดี งามของกระบวนการนำเสนอโดยรวมที่สร้างความนิยมและความชื่นชมให้กับผู้ฟังได้ มาก ทำให้ผู้นำเสนอกลายเป็น "ดาวเด่น" หรือ "ดารา" ขึ้นได้ชั่วพริบตา
ปัญหา อย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นได้แก่ การนำเสนอที่สร้างความเบื่อหน่ายและกลายเป็นการสร้างความไม่พอใจให้ผู้ฟัง เป็นอย่างมาก ซึ่งจะสามารถพบเห็นได้จากการนำเสนอผ่านสื่อต่าง ๆ ที่นำมาใช้เป็นช่องทางของการนำเสนอเช่น ทางโทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ หรือแม้แต่ในเวทีที่มีการอภิปราย ปาฐกถา แม้แต่ในสภาผู้แทนราษฎร รวมทั้งในชั้นเรียนที่มีครู/อาจารย์เป็นผู้นำเสนอและผู้เรียนเป็นผู้ฟังก็ ยังเกิดขึ้นได้บ่อย ๆ เช่นกัน
การนำเสนอที่สร้างความเบื่อหน่ายทำให้ โอกาสเป็น "ดาวเด่น" หรือ "ดารา" ที่มีผู้คนชื่นชอบชื่นชมจำนวนมากหายไป หรือ ผู้ที่เป็น "ดาวเด่น" หรือ "ดารา" ที่มีผู้คนชื่นชอบจำนวนมากอยู่เป็นทุนแล้วเพราะมีฐานะทางสังคมที่ดี มีตำแหน่งหน้าที่การงานอันมีเกียรติก็ตาม อาจกลายเป็นดาวดับที่อับแสง และเต็มไปด้วยความไม่พอใจของผู้คน ถ้าเป็นในชั้นเรียนครู/อาจารย์ที่มีการสอนและนำเสนออย่างเบื่อหน่ายจะทำให้ นักเรียน/นักศึกษาไม่ชอบและไม่เคารพรักได้เช่นกัน
วิทยาการที่ใช้ เป็นหลักการและแนวทางของการนำเสนอที่ช่วยลดความเบื่อหน่ายและชวนให้น่า ติดตามนั้น นอกจากเทคนิควิธีและกระบวนการอื่น ๆ ที่มีนักวิชาการเขียนไว้เป็นตำราและเอกสารเกี่ยวกับเรื่อง "เทคนิคการนำเสนอ" จำนวนมากแล้ว ยังมีวิทยาการอีกสาขาวิชาหนึ่งที่มีนักวิชาการเขียนไว้เป็นตำราหรือเอกสาร น้อยมากคือ เรื่องของการออกแบบสาร (Message Design) ที่ดีและมีประสิทธิภาพสำหรับการนำเสนอ
การเตรียมการเพื่อ "การออกแบบสาร"
การออกแบบสารหมายถึง การจัดกระทำความรู้ ความคิด หรือเรื่องราวที่เป็นเนื้อหาสาระต่าง ๆ ทั้งที่อยู่ในรูปของนามธรรม ไม่สามารถมองเห็นด้วยตา ได้ยินด้วยหู หรือรับรู้ได้ด้วยสัมผัสต่าง ๆ และรวมทั้งที่เป็นรูปธรรม ให้อยู่ในสภาพที่สามารถใช้สำหรับการนำเสนอผ่านสื่อให้ผู้อื่นรับรู้ รับทราบ หรือเรียนรู้ได้ในสถานการณ์ต่าง ๆ ดังนั้นการออกแบบสารเพื่อการนำเสนอจึงมีความสัมพันธ์กับช่องทางของการนำเสนอ ซึ่งหมายถึง "สื่อ" ต่าง ๆ นั่นเอง สื่อแต่ละประเภท แต่ละชนิดมีหลักการและกระบวนการออกแบบสารที่ต้องการนำเสนอแตกต่างกัน
แต่ อย่างไรก็ตาม "การออกแบบสาร" มีหลักการพื้นฐานร่วมกันที่เป็นประเด็นสำคัญ และเป็นคำถามเบื้องต้นที่ผู้นำเสนอควรนำมาใช้สำหรับพิจารณาการออกแบบสารก่อน ทำการนำเสนอผ่านสื่อดังนี้
1. เมื่อท่านจะทำการนำเสนอ ท่านต้องการนำเสนอ สาระอะไร ให้กับผู้ฟัง หรือผู้ชมของท่าน ?
2. ผู้ฟัง หรือ ผู้ชม ของท่าน ต้องการรู้เรื่องอะไร จากการนำเสนอของ ท่าน ?
3. อะไรบ้างที่ท่านคาดว่าผู้ฟัง จะได้รับผิดพลาดไป จาก ความต้องการของพวกเขาในการนำเสนอของท่าน ?
ทั้ง 3 คำถามนี้ดูเหมือนจะเป็นคำถามที่ย้อนไปย้อนมาเพื่อต้องการความมั่นใจว่าผู้นำ เสนอสารได้ตระหนักถึงประเด็นที่เป็นสาระสำหรับการนำเสนอ และสาระที่เป็นความต้องการของผู้ฟัง รวมทั้งความผิดพลาดอันอาจจะเกิดขึ้นได้กับการนำเสนอของผู้นำเสนอและความคาด หวังที่ต้องการได้รับของผู้ฟัง
สาระอะไร เป็นการกำหนดจุด ประสงค์และเนื้อหาสำหรับการออกแบบสารที่จะนำเสนอ
ต้องการรู้ เรื่องอะไร เป็นการทราบว่าผู้ฟังต้องการรู้เรื่องอะไร การที่จะทราบความต้องการได้นั้นอาจต้องมีการสอบถามหรือสำรวจให้ทราบเป็นที่ แน่ชัดด้วย กระบวนการดังกล่าวมีขั้นตอน และวิธีการหลากหลาย แต่สุดท้ายต้องได้คำตอบว่า ผู้ฟังต้องการรู้เรื่องอะไรบ้างเพื่อนำไปตรวจสอบกับเนื้อหาและกำหนดจุด ประสงค์เพื่อการประเมินในประเด็นแรก
จะได้รับผิดพลาดไป การ ทบทวนและสอบทานคำตอบทั้ง 2 คำถามก่อนหน้านี้เพื่อสร้างความมั่นใจ และระมัดระวังประเด็นข้อผิดพลาดที่จะเกิดขึ้น จากการออกแบบสารในการนำเสนอ
แนวทาง การปฏิบัติ
การนำเสนอจำนวนไม่น้อยที่ผู้นำเสนอไม่ได้สนใจ หรือให้ความสำคัญกับความต้องการของผู้ฟัง และบ่อยครั้งที่ผู้นำเสนอได้นำเสนอสาระที่ไม่ตรงกับความคาดหวังและความ ต้องการของผู้ฟัง ชอบที่จะเสนอในสิ่งที่ตนเองต้องการนำเสนอเท่านั้นอาจเป็นเพราะยึดมั่นกับ ความถนัด ความสามารถหรือความรู้ที่ตนเองมีอยู่เป็นสำคัญ
ดังนั้นความ สำคัญของการนำเสนอจึงอยู่ที่ “ความสามารถนำเสนอให้ตรงกับความต้องการของ ผู้ฟัง” ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของหลักการออกแบบสาร คือ การนำสารที่ตรงตามความต้องการของผู้ฟัง หรือ ผู้ชมมานำเสนอให้ได้ โดยให้ความสำคัญกับการปฏิบัติตามขั้นตอนต่อไปนี้
1. ค้นหาสาระที่เป็นความต้องการที่ผู้ฟังต้องการให้ได้ สิ่งที่ท่านคิดว่าสำคัญอาจไม่ตรงกับความคิดว่าสำคัญของผู้ฟัง
2. ยอมรับความแตกต่าง และความไม่แน่นอนที่อาจจะเกิดขึ้นในเนื้อหา สาระ และประเด็นที่จะนำเสนอในแต่ละครั้ง
3. จัดกระทำสาระที่จะนำเสนอให้อยู่ในรูปแบบที่สามารถรับรู้ได้ เข้าใจได้อย่างชัดเจน และนำเสนอให้ครอบคลุมรอบด้าน
4. ให้ความสำคัญกับหลักการและกระบวนการใช้สื่อ การผลิตสื่อ การออกแบบสื่อที่เป็นภาพ กราฟิก ตัวอักษร สี รวมทั้งเสียงที่ใช้ ทั้งที่เป็นเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพของส่วนประกอบที่นำเสนอในสื่อแต่ละ ประเภท และแต่ละชนิด
5. การอธิบายและขยายความในเรื่องที่ยากต่อการเข้าใจให้เป็นเรื่องที่ง่ายต่อการ เข้าใจ รวมทั้งการสร้างให้เกิดความสมดุล ถูกต้อง กับสาระที่มีความซับซ้อนหรือยากต่อการเข้าใจ กับ สาระที่ไม่ซับซ้อนหรือง่ายต่อความเข้าใจ
วิทยาการที่เกี่ยวกับการนำ เสนอนั้นเกี่ยวข้องกับศาสตร์หลายศาสตร์ มีความซับซ้อนทั้งในเชิงของหลักการและทฤษฎีการรับรู้ การเรียนรู้ ทฤษฎีการสื่อสาร และกระบวนการออกแบบสื่อ การออกแบบสาร และเทคโนโลยีที่นำมาใช้ในการสร้างสื่อต่าง ๆ มีการศึกษาวิจัยในระดับสูงถึงระดับปริญญาเอก และหลังปริญญาเอกอีกด้วย
แต่ สำหรับการทำงานนำเสนอโดยทั่วไปแล้ว "การออกแบบสาร" น่าจะเป็นประเด็นที่ยังขาดการให้ความสำคัญและความเข้าใจในหลักการ ซึ่งข้อมูลในบทความเพียงเท่านี้ก็เพียงพอสำหรับการออกแบบสารเพื่อการนำเสนอ ได้อย่างมีคุณภาพแล้ว ถ้าผู้นำเสนอได้ตระหนักและยินดีที่จะใช้หลักการออกแบบสารและวิธีการในบทความ นี้เพื่อการเตรียมตัวสำหรับการนำเสนอ ท่านก็จะมั่นใจว่าผู้ฟัง หรือ ผู้ชมจะไม่เบื่อหน่ายกับการนำเสนอของท่านอีกต่อไป และนอกจากนั้น ท่านยังมีโอกาสเป็น "ดาวเด่น" หรือ "ดารา" ที่มีผู้คนชื่นชอบและชื่นชมจำนวนมากอีกด้วย
ขอบคุณข่าวจาก :: หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
โดย รองศาสตราจารย์ ดร.กฤษมันต์ วัฒนาณรงค์
Advertisement
|
เปิดอ่าน 31,605 ครั้ง |
เปิดอ่าน 9,507 ครั้ง |
เปิดอ่าน 11,849 ครั้ง |
เปิดอ่าน 489 ครั้ง |
เปิดอ่าน 24,688 ครั้ง |
เปิดอ่าน 8,908 ครั้ง |
เปิดอ่าน 17,176 ครั้ง |
เปิดอ่าน 6,042 ครั้ง |
เปิดอ่าน 13,533 ครั้ง |
เปิดอ่าน 7,539 ครั้ง |
เปิดอ่าน 15,064 ครั้ง |
เปิดอ่าน 8,368 ครั้ง |
เปิดอ่าน 10,958 ครั้ง |
เปิดอ่าน 17,178 ครั้ง |
เปิดอ่าน 14,247 ครั้ง | |
|

เปิดอ่าน 2,887 ☕ คลิกอ่านเลย |

เปิดอ่าน 9,843 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 36,636 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 16,006 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 8,889 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 13,533 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 50,709 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡ 
เปิดอ่าน 10,794 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 32,908 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 14,613 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 228,147 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 10,539 ครั้ง |
|
|