Advertisement
โรคเหน็บชา โดย นายแพทย์วิชัย ตันไพจิตร
ผลจากการขาดวิตามินบี๑
วิตามินบี๑ ทำหน้าที่เร่งปฏิกิริยาในการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรตโปรตีน และไขมัน เกิดเป็นกำลังงาน ทำให้สามารถประกอบกิจวัตรประจำวันได้ ช่วยในการสังเคราะห์สารเคมี ซึ่งจำเป็นต่อการสร้างกรดนิวคลิอิกและกรดไขมัน และมีส่วนสำคัญในการทำงานของระบบประสาท โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการนำกระแสความรู้สึกของเส้นประสาท เมื่อร่างกายขาดวิตามินบี๑ จะทำให้การทำงานของระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบประสาทและระบบทางเดินอาหารแปรปรวนไปจากปกติ และถ้ารุนแรงมากขึ้น จะมีอาการแสดงของโรคเหน็บชา ซึ่งแตกต่างกันได้ตามอายุของผู้ป่วย
โรคเหน็บชาในเด็กเล็ก
ช่วงอายุที่พบบ่อยที่สุด คือ ๒-๖ เดือน มักเป็นเด็กที่กินนมแม่ และแม่ขาดวิตามินบี๑ เด็กอาจมีอาการเด่นทางหัวใจ คือ หอบ เหนื่อย หัวใจเต้นเร็วและเขียว ถ้าไม่ได้รับการรักษาจะถึงแก่กรรมได้ภายใน ๒-๓ ชั่วโมง เด็กอาจมีอาการเด่นทางระบบประสาท คือ เสียงแหบ เวลาร้องไม่มีเสียง อาจมีหนังตาบนตกกลอกลูกตาไปมา มือเท้าเคลื่อนไหวโดยไม่ตั้งใจ
โรคเหน็บชาในเด็กโตหรือผู้ใหญ่
เด็กโตหรือผู้ใหญ่ที่เป็นโรคเหน็บชา จะมีอาการชาที่ปลายมือ และปลายเท้า และเป็นเหมือนกันทั้งสองข้าง กล้ามเนื้อของแขนและขาไม่มีกำลัง ผู้ป่วยบางราย นอกจากมีอาการชาแล้ว ยังมีอาการบวมร่วมด้วย ถ้าเป็นมากจะมีหัวใจโตและเต้นเร็ว หอบ เหนื่อยและเสียชิวิตได้ถ้าไม่ได้รับการรักษาทันท่วงที
สาเหตุของโรคเหน็บชา
สาเหตุสำคัญที่ทำให้คนไทยเป็นโรคเหน็บชาเกิดจากการกินอาหารที่ให้วิตามินบี๑ ไม่พอ ชาวไทยส่วนใหญ่กินข้าวที่ขัดสีแล้วเป็นอาหารหลัก ข้าวที่ขัดสีมีวิตามินบี๑ อยู่น้อย มิหนำซ้ำการซาวข้าว และหุงข้าวแบบเช็ดน้ำ จะทำให้สูญเสียวิตามินบี๑ ไปอีกส่วนอาหารที่ให้วิตามินบี๑ มาก คือ เนื้อสัตว์และถั่วเมล็ดแห้ง ก็กินน้อย นอกจากนี้ ถ้ากินสารทำลายวิตามิน
บี๑ เป็นประจำ ยิ่งซ้ำเติมให้เป็นโรคเหน็บชาได้ไวขึ้นสารทำลายวิตามินบี๑ นี้ แบ่งได้เป็น ๒ พวก คือ พวกที่ไม่ทนต่อความร้อน ได้แก่ เอนไซม์ไทอะมิเนส (thaiaminase) ซึ่งมีอยู่ในปลาน้ำจืด หอยลายและปลาร้าส่วนอีกพวกหนึ่งเป็นสารที่ทนต่อความร้อน พบได้ทั้งในปลาน้ำจืดและปลาน้ำเค็มหลายชนิด ใบชา ใบเมี่ยงหมาก และผักบางชนิดเด็กที่อยู่ในวัยเจริญเติบโต หญิงมีครรภ์ หญิงให้นมลูก ผู้ใช้กำลังงานมาก เช่น นักกีฬา กรรมกร ชาวนา ภาวะที่เกิดโรคติดเชื้อ ภาวะที่มีไข้สูง โรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษ ล้วนมีความต้องการวิตามินบี๑ มากขึ้น จะเสี่ยงต่อการเป็นโรคเหน็บชาได้ง่าย นอกจากนี้ผู้ดื่มเหล้าเป็นประจำจะขาดวิตามินบี๑ ได้ง่ายเช่นกัน
การป้องกัน
โรคเหน็บชาไม่ใช่โรคที่เกิดจากความอดอยากหากแต่เกิดเพราะการรับประทานอาหารไม่ถูกสัดส่วนการป้องกันอาจทำได้โดยส่งเสริมให้กินอาหารที่มีวิตามินบี๑ สูง เช่น เนื้อหมู ถั่วเหลือง ผู้ที่ดื่มน้ำชาหรือเคี้ยวใบเมี่ยงเป็นประจำ ถ้าเลิกได้เป็นการดีที่สุดถ้าทำไม่ได้ก็ดื่มน้ำชาหรือเคี้ยวใบเมี่ยงให้น้อยลง และควรทำในระหว่างมื้ออาหาร ผู้ที่ชอบกินปลาร้าดิบ ควรเปลี่ยนเป็นต้มให้สุกเสียก่อน เลิกดื่มเหล้าเป็นประจำเวลาเกิดการเจ็บป่วยก็ไม่อดของแสลง ทั้งๆ ที่อาหารเหล่านั้นมีคุณค่าทางโภชนาการ การหุงต้มทุกชนิดควรใช้น้ำแต่พอประมาณ เช่น ควรหุงข้าวแบบไม่เช็ดน้ำส่งเสริมให้กินข้าวซ้อมมือ และรัฐควรวางมาตรฐานการสีข้าวของโรงสีต่างๆ เพื่อสงวนคุณค่าของวิตามินบี๑ ไว้
Advertisement
เปิดอ่าน 19,051 ครั้ง เปิดอ่าน 41,678 ครั้ง เปิดอ่าน 40,134 ครั้ง เปิดอ่าน 12,182 ครั้ง เปิดอ่าน 31,878 ครั้ง เปิดอ่าน 42,969 ครั้ง เปิดอ่าน 161,808 ครั้ง เปิดอ่าน 25,956 ครั้ง เปิดอ่าน 30,361 ครั้ง เปิดอ่าน 16,452 ครั้ง เปิดอ่าน 18,996 ครั้ง เปิดอ่าน 46,240 ครั้ง เปิดอ่าน 13,530 ครั้ง เปิดอ่าน 12,881 ครั้ง เปิดอ่าน 15,138 ครั้ง เปิดอ่าน 16,678 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 62,419 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 32,119 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 62,419 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 28,759 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 46,240 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 40,134 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 14,736 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 30,152 ครั้ง |
เปิดอ่าน 10,330 ครั้ง |
เปิดอ่าน 18,336 ครั้ง |
เปิดอ่าน 14,776 ครั้ง |
เปิดอ่าน 17,553 ครั้ง |
|
|