ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมความรู้ทั่วไป  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

ดิจิตอลอีสาน...ใบลานอิเลคทรอนิกส์


ความรู้ทั่วไป เปิดอ่าน : 12,471 ครั้ง
Advertisement

ดิจิตอลอีสาน...ใบลานอิเลคทรอนิกส์

Advertisement

❝ คนรุ่นใหม่สืบสานภูมิปัญญาอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ก่อตั้งโครงการอนุรักษ์คัมภีร์ใบลาน แปรรูปใส่แพ็กเกจทันสมัยในรูปแบบใบลานอิเลคทรอนิคส์ ❞

“คั่นอยากกินข้าวให้ปลูกใส่พะลานหิน คั่นอยากเป็นปราชญ์มีศีลให้แก้ซิ่นในวัด”

แม้คำผญาอีสานนี้จะแปลตามตัวได้ว่า "ถ้าอยากกินข้าวให้ปลูกใส่ลานหิน ถ้าอยากเป็นปราชญ์ที่มีศีลให้แก้ผ้าซิ่นในวัด" แต่หากถอดความหมายซึ่งเป็นปริศนาธรรมจากคำผญานี้ จะได้ความหมายว่า ถ้าอยากได้บุญและเมื่อตายไปในภพหน้าจะมีข้าวกินต้องนำข้าวไปใส่บาตรพระ ถ้าอยากเป็นนักปราชญ์ที่มีศีลในชาตินี้ให้แก้ผ้าซิ่นที่ใช้ห่อคัมภีร์ใบลานในวัดเพื่อศึกษาคัมภีร์ใบลาน

คำผญานี้ได้สะท้อนให้เห็นความสัมพันธ์ของผู้คนในยุคก่อน ที่ใช้ผ้าซิ่นในการห่อคัมภีร์ใบลานไว้ แต่วันนี้ ชะตากรรมของใบลานจำนวนมากกำลังสูญหายไป พร้อมๆ กับภูมิปัญญาล้ำค่ามากมาย ที่อาจจะดับสูญตามไป
ตามรอยใบลาน

การค้นหาใบลานตามวัดต่างๆ ในเขตภาคอีสานเกิดขึ้นมาได้ระยะหนึ่งแล้ว ด้วยหวังจะรวบรวมและสานต่อองค์ความรู้ที่คัมภีร์ใบลานได้จารึกไว้

โครงการอนุรักษ์คัมภีร์ใบลานฯ จัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2546 เป็นโครงการที่รองศาสตราจารย์ ดร.ภาวิช ทองโรจน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาสารคามในขณะนั้น ให้จัดตั้งขึ้น ด้วยเล็งเห็นว่าควรมีการดำเนินการด้านการสำรวจ อนุรักษ์และเอกสารใบลานอย่างจริงจัง เพราะเอกสารใบลานเป็นเอกสารชั้นต้นที่มีความสำคัญต่อวงวิชาการเป็นอย่างมาก เนื่องจากในอดีต การบันทึกสรรพวิชาการ คติความเชื่อ ขนบธรรมเนียม ประเพณี วีถีชีวิตและการสร้างสรรค์ของผู้คนในท้องถิ่น จะบันทึกไว้ในใบลานโดยใช้ตัวอักษรโบราณที่ใช้ในชุมชนนั้นเขียนบันทึกไว้ ซึ่งบรรดาข้อมูลที่อยู่ในเอกสารใบลานเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงภูมิปัญญา วิถีชีวิตชุมชน ความศรัทธาความเชื่อของชุมชนท้องถิ่นซึ่งมีคุณค่าต่อการศึกษาอย่างยิ่ง

หากย้อนกลับไปเมื่อ 20 ปีก่อน การอนุรักษ์ใบลานได้ทำในกลุ่มของพระภิกษุสงฆ์และศูนย์วัฒนธรรมท้องถิ่นอีสานบางแห่ง แต่เนื่องจากขาดการสนับสนุนจากภาครัฐและไม่มีผู้สืบทอด งานอนุรักษ์จึงค่อยๆ จางหายไป เช่นเดียวกับเมื่อครั้งมหาวิทยาลัยมหาสารคามยังมีฐานะเป็นวิทยาลัยครูมหาสารคาม ได้จัดตั้งศูนย์ศิลปวัฒนธรรมเพื่อสำรวจและจัดทำบัญชีคัมภีร์ใบลานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือว่า ถูกเก็บรักษาในที่ใดบ้าง 

แม้จะไม่ประสบผลสำเร็จอย่างที่คาดหวัง แต่การทำงานของคณะทำงานไม่ได้สูญเปล่า เพราะเมื่อ ผศ.วีณา วีสเพ็ญ ประธานโครงการอนุรักษ์คัมภีร์ใบลานฯ ได้เริ่มงานอนุรักษ์โดยสานต่อการรื้อฟื้นและคัดสรรภูมิปัญญาที่จารึกในใบลาน...อีกครั้ง

“เราเริ่มต้นศึกษาค้นคว้าใบลานในวัดเป็นที่แรก เพราะในสมัยก่อนวัดเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ เป็นที่เก็บรักษาตำราและคัมภีร์ใบลานที่จารึกคัมภีร์ทางศาสนาพุทธด้วยอักษรธรรม ซึ่งเป็นตัวอักษรโบราณ แต่ถ้าเป็นงานวรรณคดีด้านวรรณกรรมจะจารึกด้วยตัวอักษรไทยน้อย นอกจากนี้ยังมีนิทานพื้นบ้าน กฎหมายและตำรายา”

สำหรับการทำงานของโครงการดังกล่าว ผศ.วีณา บอกเล่าว่า การทำงานของคณะทำงานจะทำหน้าที่ตรวจสอบ รักษา และคัดแยกเพื่อเก็บข้อมูลทำเป็นรูปเล่มและมอบให้กับทางวัด 1 เล่ม และโครงการเก็บไว้ 1 เล่ม ซึ่งการทำงานของโครงการนี้จะต่างจากโครงการอื่นๆ ตรงที่จะไม่นำวัสดุสิ่งของที่ศึกษากลับมาเก็บไว้ แต่จะบันทึกภาพทั้งภาพนิ่งและภาพวิดีโอ ถ้าเป็นเอกสารใบลานที่สำคัญก็จะทำสำเนา ถอดแปลไว้

“ปัจจุบันชุมชนเข้าใจแล้วว่าการเคลื่อนย้ายวัตถุโบราณ เอกสารโบราณ ทำให้ข้อมูลทางประวัติศาสตร์เสียหายไป เราก็จะวิเคราะห์ทำนายประวัติศาสตร์ผิดไป ชุมชนเขารักของเขา”

ประธานโครงการอนุรักษ์คัมภีร์ใบลานฯ กล่าวถึงการทำงานอีกส่วนหนึ่งของโครงการว่า เมื่อสำรวจใบลานเรียบร้อยแล้ว อีกหน้าที่หนึ่งของโครงการคือ การถอดแปลคัมภีร์ใบลานเพื่อพิมพ์เผยแพร่ โดยการถอดแปลใบลานนั้นต้องตอบสนองความต้องการและความจำเป็นของชุมชน ซึ่งเป็นเรื่องของ "ตำรายา" ในเอกสาร 8 อันดับแรกตามนโยบายของโครงการที่จะถอดแปลและพิมพ์เผยแพร่เป็นตำรายาพื้นบ้าน

“ข้อมูลจากใบลานอาจมีตัวยาดีๆ ที่เป็นสมุนไพรพื้นบ้าน ซึ่งหมอยา บุคลากรด้านเภสัชศาสตร์ได้นำไปปรุง ทดลองแล้วนำไปใช้เป็นภูมิปัญญาของไทย ลดการซื้อยาจากต่างประเทศ สอดคล้องกับการตั้งหน่วยงานแพทย์แผนไทย แพทย์ทางเลือกของกระทรวงสาธารณสุข"

ในแง่ประโยชน์ของการเผยแพร่ตำรายา ผศ.วีณาเห็นว่า ปัจจุบันทั่วโลกกำลังยื้อแย่งเรื่องภูมิปัญญา และนำเอาองค์ความรู้ไปจดสิทธิบัตร ดังนั้นการถอดแปลตำรายาโบราณนอกจากจะเป็นผลดีต่อหมอยาพื้นบ้านที่จะได้เรียนรู้เพิ่มเติมแล้ว ยังทำให้นักวิชาการนำไปศึกษาพัฒนาและกระทรวงสาธารณสุขก็นำผลงานที่โครงการอนุรักษ์ใบลานได้ศึกษา ไปเข้าสู่กระบวนการให้คณะกรรมการศึกษาและอนุมัติเพื่อปกป้องให้เป็นเอกสารของชาติ ก่อนที่จะมีใครมาแอบเด็ดยอด

ตามหาภูมิปัญญา

สำหรับบรรยากาศการลงพื้นที่เพื่อเก็บรวบรวมใบลาน จำเป็นต้องใช้ความระมัดระวังและความรอบคอบเพื่อให้ใบลานอยู่ในสภาพใกล้เคียงกับของเดิมมากที่สุด

ณรงค์ศักดิ์ ราวะรินทร์ พนักงานการศึกษา โครงการอนุรักษ์คัมภีร์ใบลานฯ ยกตัวอย่างการทำงานของทีมงานที่วัดโพธาราม อ.จังหาร จ.ร้อยเอ็ดว่า เป้าหมายอันดับแรกคือการตรวจสอบว่ามีการคงอยู่ของคัมภีร์ใบลานมากน้อยแค่ไหน จากนั้นก็จะเข้าไปศึกษาสำรวจเพื่อคัดแยกใบลานที่ชำรุดและที่อ่านได้ โดยการจำแนกตามขนาดจะได้ 2 ขนาดคือ ใบลานสั้นเรียกว่า "หนังสือก้อม" และใบลานยาวเรียกว่า "หนังสือผูก" จากนั้นก็นำมาทำความสะอาด จำแนกหมวดหมู่และรักษาสภาพใบลาน

“ในการตรวจเช็ค ก็ตรวจดูชื่อเรื่อง และจัดหมวดหมู่ว่าอยู่ในหมวดใด เช่น พระวินัย พระสูตร พระอภิธรรม และหมวดหมู่อื่นเช่น หมวดเบ็ดเตล็ด”

ณรงค์ศักดิ์เล่าต่อไปว่า ผู้คนในสมัยก่อนเชื่อว่าคัมภีร์ใบลานเป็นของสูง เนื่องจากเป็นแหล่งให้ความรู้ความเจริญแก่ผู้เล่าเรียน ดังนั้นเรื่องราวที่บันทึกลงในใบลานจึงมีความสำคัญในเชิงสังคม ความเชื่อ ความศรัทธาและวัฒนธรรมประเพณี ซึ่งเจ้าหน้าที่จะเก็บรวบรวมเพื่อวางฐานข้อมูลคัมภีร์ใบลานของภาคอีสาน และเพื่อศึกษาเอาองค์ความรู้ที่ถูกต้องไปใช้ประโยชน์ต่อสังคม เจ้าหน้าที่จึงทำงานด้วยความละเอียดอ่อน ระมัดระวังเพื่อไม่ให้เนื้อหาจากใบลานตกหล่นเลยแม้แต่น้อย

สำหรับใบลานในภาคอีสานได้ถูกจารด้วยตัวอักษร 3 แบบคือ ธรรมอีสาน ขอม และไทยน้อย ซึ่งแต่ละแบบมีรายละเอียดแตกต่างกันไป และจำเป็นต้องมีการเรียนภาษาโดยตรง จึงจะอ่านออก

“ใบลานเริ่มหมดความสำคัญเมื่อจอมพลป. พิบูลสงครามเข้ามามีอำนาจ และสถาปนาให้ลัทธิชาตินิยมเติบโตขึ้น โดยส่วนหนึ่งพยายามนำใบลานไปเผา ทำให้ใบลานเก่าๆ ที่ถูกจารด้วยองค์ความรู้และคำสอนๆ ต่างๆ สูญหาย อีกทั้งการเรียนที่วัดค่อยๆ หมดความสำคัญลง ถือเป็นการเปลี่ยนผ่านของยุคสมัย”

แต่เพื่อเป็นการสืบสานความรู้จากใบลาน และภาษาที่จารบนใบลาน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้บรรจุภาษาโบราณภาษาอีสานไว้ในหลักสูตรของคณะอย่างน้อย 3 วิชาเอก เพื่อสร้างนิสิตรุ่นใหม่ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านอักษรโบราณไว้รับช่วงต่อ แล้วยังได้เดินหน้างานอนุรักษ์เชิงรุกโดยการจัดอบรมความรู้เกี่ยวกับอักษรโบราณที่ปรากฏอยู่ในคัมภีร์ใบลานอีสานแก่ครู นิสิต นักศึกษา และนักเรียน ตลอดจนพาลงพื้นที่จริงเพื่อดูใบลานของวัดที่ยังไม่มีการสำรวจจัดหมวดหมู่ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมตระหนักถึงความสำคัญของตนเองที่จะลุกขึ้นมาอนุรักษ์คัมภีร์ใบลาน

ผศ.วีณา เสริมว่า นอกจากนี้ยังมีโครงการถวายการสอนแด่พระสงฆ์ โดยหวังว่าท่านจะเป็นหลักของสังคมในการถ่ายทอดความรู้และอนุรักษ์ใบลานเช่นในอดีต 

“ในอนาคตโครงการนี้จะพัฒนาเป็นศูนย์กลางสารสนเทศเอกสารโบราณอีสาน เป็นศูนย์ข้อมูลที่เป็นที่แรกของการเริ่มต้นสืบค้นข้อมูลของภาคอีสาน”

ใบลานยุคจิติตอล

แม้โครงการตามรอยใบลานจะเดินหน้าต่อไปไม่หยุดยั้ง แต่อีกด้านหนึ่ง มีความพยายามจะปรับเปลี่ยนใบลานจากใบไม้ ให้มีความทันสมัยขึ้น ในรูปแบบของใบลานอิเลคทรอนิคส์

ด้วยปณิธานของโครงการอนุรักษ์คัมภีร์ใบลานที่ว่า "อนุรักษ์ของเดิม เพิ่มของใหม่ เชิดชูไว้ซึ่งภูมิปัญญาอีสาน" ได้ผลักดันให้การทำงานของโครงการดำเนินไปจนถึงขั้นการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับคัมภีร์ใบลาน  ทั้งการวิจัยพื้นฐานและการวิจัยประยุกต์โดยเน้นการวิจัยแบบสหวิทยาการเพื่อนำองค์ความรู้จากใบลานไปใช้ประโยชน์

ล่าสุดการโครงการอนุรักษ์คัมภีร์ใบลานได้เดินหน้าโครงการโดยร่วมกับคณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เพื่อบูรณาการความรู้และการทำงานที่นำเอาเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในการบันทึกข้อมูลคัมภีร์ใบลาน เพื่อสร้างฐานข้อมูลในการสืบค้นข้อมูลความรู้จากใบลาน

ผศ.วีณา อธิบายถึงการพัฒนาฐานข้อมูลเพื่อเผยแพร่องค์ความรู้จากใบลาน ว่าเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สังกัดสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กับการกลุ่มอนุรักษ์ภูมิปัญญาพื้นบ้าน เพื่อพัฒนาโครงการวิจัย โดยใช้ศักยภาพของการทำงานและภูมิรู้จากอ.ชุมศักดิ์ สีบุญเรือง รองคณบดีฝ่ายวิชาการและประกันคุณภาพ คณะวิทยาการสารสนเทศ ม.มหาสารคาม เและคณะทำงานในด้านเทคโนยีการสร้างฐานข้อมูลเพื่ออนุรักษ์ตัวอักษรที่จารึกข้อมูล ภูมิปัญญาของคนสมัยโบราณไม่ให้สูญหายไปตามการผุพังของใบลาน และนำไปสู่การเผยแพร่ต่อสังคมและนักวิชาการ โดยง่ายต่อการสืบค้นข้อมูลในฐานข้อมูลซึ่งเผยแพร่ในเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้อย่างมีคุณภาพ

อาจารย์ชุมศักดิ์ สีบุญเรือง ขยายรายละเอียดให้ฟังว่า เป็นการอนุรักษ์คัมภีร์ใบลานในรูปแบบใบลานอิเล็กทรอนิกส์หรือฐานข้อมูลคัมภีร์ใบลาน ซึ่งโครงการวิจัยนี้ได้รับทุนวิจัยจากโปรแกรมซอฟต์แวร์ประยุกต์เพื่อสารสนเทศและอุปกรณ์การเคลื่อนที่ ( IMA) สังกัด สวทช. โดยมีที่มาจากโครงการระดับประเทศที่ชื่อ Digitized Thailand เริ่มต้นโดย ดร.วิรัช ศรเลิศล้ำวาณิช ผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติและเป็นผู้อำนวยการ IMA ซึ่งเป็นการวิจัยและพัฒนาการด้านวิทยาการสารสนเทศเพื่ออนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทย 

“เนื่องจากโครงการ Digitized Thailand อาจทำทั้งประเทศทีเดียวไม่ไหว จึงได้แบ่งออกเป็นโครงการย่อยคือ Digitized Isan เป็นชุดโครงการใหญ่และจะมีโครงการอื่นๆ เกิดตามมาภายใต้ชื่อ Digitized Isan โดยมีแนวคิดในการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาอีสาน โดยใช้ระบบเทคโนโลยีเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการสืบค้นและการเก็บอนุรักษ์ ยกตัวอย่าง ใบลานที่ถูกเก็บไว้ตามวัดอาจผุพังเสื่อมสลายไป ทำให้ตำรายา ข้อมูลสำคัญในอดีต รากเหง้าทางประวัติศาสตร์และภูมิปัญญาที่ได้จารึกสูญหายไป จึงต้องนำเทคโนโลยีมาจัดเก็บข้อมูลเหล่านี้ไว้ในรูปแบบฐานข้อมูล"

อ.ชุมศักดิ์ ได้กล่าวต่อไปว่า แนวคิดในการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาอีสานดังกล่าว สอดคล้องกับโครงการอนุรักษ์คัมภีร์ใบลานที่มีการปริวรรตหรือถอดแปลข้อมูลในคัมภีร์ใบลานเพื่ออนุรักษ์และเผยแพร่ภูมิปัญญา ไปสู่คนรุ่นหลัง แต่การถอดแปลยังทำได้น้อย เพราะบุคลากรไม่เพียงพอ ในขณะที่ใบลานก็ผุพังไปทีละน้อย ดังนั้นการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดเก็บโดยใช้คอมพิวเตอร์ ถ่ายภาพ สแกนแปลงเป็นข้อมูลดิจิตอล กระบวนการเหล่านี้เรียกว่า Digitized จะทำให้การเก็บรักษาข้อมูลใบลานรวดเร็วขึ้น และเมื่อมีการเก็บใบลานในรูปแบบดิจิตอลก็ทำให้ผู้ที่สนใจศึกษาได้เข้ามาแปล เป็นการสืบทอดองค์ความรู้ภูมิปัญญาต่อไป

วันข้างหน้า หากเราอยากรู้ข้อมูลเกี่ยวกับตำรายาโบราณ อาจจะเปิดดูที่ใบลานอิเลคทรอนิคส์ ที่ถูกดาวน์โหลดเป็นเอ็มพี 3 เรียบร้อยแล้ว

ข้อมูลข่าวโดย  กรุงเทพธุรกิจ


ดิจิตอลอีสาน...ใบลานอิเลคทรอนิกส์

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

Chat & Hi5 อาจนำภัยถึงตัว

Chat & Hi5 อาจนำภัยถึงตัว


เปิดอ่าน 11,843 ครั้ง
คำว่า สปา มาจากไหน

คำว่า สปา มาจากไหน


เปิดอ่าน 13,640 ครั้ง
อาหารบำรุงผม

อาหารบำรุงผม


เปิดอ่าน 18,401 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

ครีมเทียม กินมาก อันตรายกว่าที่คิด!

ครีมเทียม กินมาก อันตรายกว่าที่คิด!

เปิดอ่าน 39,529 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
เลือกหมอนให้นอนหลับสบาย
เลือกหมอนให้นอนหลับสบาย
เปิดอ่าน 17,454 ☕ คลิกอ่านเลย

ออกรถใหม่...วันไหนดี?
ออกรถใหม่...วันไหนดี?
เปิดอ่าน 15,317 ☕ คลิกอ่านเลย

40 ปี มนุษย์เหยียบจันทร์ กับความฝันสำรวจจักรวาล
40 ปี มนุษย์เหยียบจันทร์ กับความฝันสำรวจจักรวาล
เปิดอ่าน 9,153 ☕ คลิกอ่านเลย

การออกกำลังกายเพิ่มภูมิต้านทานความเครียดให้กับสมอง
การออกกำลังกายเพิ่มภูมิต้านทานความเครียดให้กับสมอง
เปิดอ่าน 13,646 ☕ คลิกอ่านเลย

วิธีคั้นมะนาวให้ได้น้ำมาก-ไม่ขม
วิธีคั้นมะนาวให้ได้น้ำมาก-ไม่ขม
เปิดอ่าน 14,225 ☕ คลิกอ่านเลย

ทำไมขนมโดนัทจึงมีรู
ทำไมขนมโดนัทจึงมีรู
เปิดอ่าน 11,681 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

5เทคนิคสุขภาพดีสำหรับคุณแม่ที่ยุ่งตลอดเวลา
5เทคนิคสุขภาพดีสำหรับคุณแม่ที่ยุ่งตลอดเวลา
เปิดอ่าน 8,750 ครั้ง

12 เรื่องน่ารู้ การถ่ายภาพ ด้วยกล้องดิจิตอล
12 เรื่องน่ารู้ การถ่ายภาพ ด้วยกล้องดิจิตอล
เปิดอ่าน 11,584 ครั้ง

แนะพ่อแม่ติดโปรแกรมไอซีทีเฮาส์คีปเปอร์
แนะพ่อแม่ติดโปรแกรมไอซีทีเฮาส์คีปเปอร์
เปิดอ่าน 9,928 ครั้ง

เผยโฉมอินเตอร์เฟซของ Google Pad
เผยโฉมอินเตอร์เฟซของ Google Pad
เปิดอ่าน 11,179 ครั้ง

9 วิธีปลดหนี้บัตรเครดิตแบบชิลๆ
9 วิธีปลดหนี้บัตรเครดิตแบบชิลๆ
เปิดอ่าน 27,496 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ