Advertisement
❝ เมื่อผู้คนสนใจเกมลับสมองเพิ่มมากขึ้น ทำให้มีการศึกษาถึงผลกระทบที่มีต่อการศึกษาเล่าเรียน เกมลับสมองมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความสำเร็จสูงมาก ❞
เดิมภาพลักษณ์เก่าของผู้ที่เล่นเกมลับสมอง จะเป็นคนที่เชยๆ สวมแว่นหนาเตอะ ผิวขาวซีด ตัวเล็กกว่ามาตรฐาน หลังโค้งงอ ร่างกายอ่อนแอ ขาดทักษะด้านพลศึกษา ไม่ชอบเข้าสังคม ชอบแยกตัว และไม่มีเพื่อน
ภาพลักษณ์ของคนฉลาดในคราบของพวกเฉิ่มเชยเช่นนี้ ทำให้เด็กหลายล้านคนทั่วโลกใช้สติปัญญาของพวกเขาปิดบังความเฉลียวฉลาดของตนไว้ เพราะไม่อยากถูกเรียกว่า “จอมเชย”
แต่จากผลสำรวจล่าสุดของผู้เข้าร่วมแข่งขันเกมลับสมองในการแข่งขันโอลิมปิกระดับโลกครั้งที่ 3 พบว่า ส่วนใหญ่ผู้เข้าแข่งขันมีความสนใจเรื่องต่างๆ ในวงกว้าง และมากกว่าร้อยละ 60 ชอบเล่นเกมที่ใช้พลังกายเป็นหลักในเวลาว่าง
นอกจากนี้ยังมีข้อมูลที่ช่วยสนับสนุนข้อความดังกล่าวข้างต้นว่า ผู้ชนะเลิศด้านเชาวน์ปัญญาระดับโลกทั้งหลาย รวมทั้งแกร์รี่ กาสปารอฟ (Garry Kasparov) นักเล่นหมากรุกที่เก่งที่สุดตลอดกาล โดมินิก โอ ไบรอัน (Dominic O’Brien) ผู้ชนะเลิศด้านความจำระดับโลกถึง 8 ครั้ง และรอน คิง (Ron King) ผู้ที่ไม่เคยแพ้ใคร ในการแข่งขัน Barbadian World Draughts ล้วนเป็นสุดยอดนักเกม แต่ก็ยังชอบเล่นเกมที่ใช้แรงกาย เช่น วิ่ง ว่ายน้ำ ปีนเขา ปิงปอง แอโรบิก และเต้นรำ เพื่อให้ร่างกายโดยเฉพาะจิตใจอยู่ในสภาพสมบูรณ์พร้อม
การชักชวนให้เล่นเกมลับสมองกันทั้งครอบครัว จะช่วยให้ครอบครัวของคุณแข็งแรงทั้งร่างกายและจิตใจ
สิ่งที่คุณและครอบครัวควรทำ
ชวนกันเล่นเกมลับสมองหลายๆ ประเภท เริ่มตั้งแต่เกมง่ายๆ และสนุก อย่างเช่น เกมไพ่ผสมสิบ แล้วค่อยเพิ่มระดับความยากขึ้นเรื่อยๆ จนถึงเกมหมากรุกและโกะ อักษรไขว้ ซูโดะคุ
ลองเข้าไปดูเว็บไซต์ของการแข่งขันชิงชนะเลิศความจำระดับโลกที่www.worldmemorychampionship.com หรือ www.jumkeng. คุณรู้จักโลกแห่งความจำและเกมเกี่ยวกับความจำ
นอกจากนี้ยังมีข้อมูลเกี่ยวกับเทคนิคและความก้าวหน้าด้านความจำล่าสุด รวมถึงห้องสนทนา ข่าวสารเกี่ยวกับการแข่งขัน Thailand Open Memory Championships ที่กำลังจะจัดขึ้นในประเทศไทยเป็นครั้งที่สอง ในเดือนกรกฎาคม และการจัดอันดับโลกต่อไปในเดือน พฤษภาคมที่บาห์เรน
จึงนับเป็นโลกมหัศจรรย์ที่ครอบครัวของคุณควรมีส่วนร่วมได้ และจะเกิดประโยชน์อย่างมหาศาลทางด้านการศึกษาเล่าเรียน ชีวิตส่วนตัว และอาชีพการงานของคนทั้งบ้านด้วย
แล้วพาทั้งครอบครัวเข้าร่วมในการแข่งขันเกมลับสมองระดับภูมิภาค ระดับชาติ และระดับโลก เนื่องจากการแข่งขันเหล่านี้รับสมัครผู้สนใจทุกคน ดังนั้น ผู้เล่นระดับเริ่มต้นอาจได้แข่งขันกับผู้ชนะเลิศระดับโลก
การแข่งขัน “ระบบสวิส” (Swiss System) จะคล้ายกับการแข่งเทนนิส แต่มีข้อดีที่มากกว่าและมีประโยชน์มากกว่า กล่าวคือ ในการแข่งขันเทนนิสนั้น ถ้าคุณแพ้ในรอบแรก จะถูกคัดออกจากการแข่งขันเลย แต่ในการแข่งขันเกมลับสมอง ถ้าคุณแพ้ในรอบแรก คุณจะได้เข้าสู่รอบต่อไปและแข่งกับคนอื่นที่แพ้ในรอบแรกเช่นเดียวกัน แต่ถ้าคุณชนะ คุณก็จะได้เล่นกับคนที่ชนะมา วิธีการแบบนี้จะดำเนินไปเรื่อยๆ
ดังนั้น ถ้าคุณยังแพ้อีก จะได้เล่นกับคนที่แพ้มาหลายครั้งพอๆ กับคุณ ถ้าคุณยังคงชนะ จะได้เล่นกับคนที่ชนะเช่นกัน ผู้เล่นแต่ละคนในการแข่งขันเกมลับสมองจะได้แข่งในระดับที่เหมาะสมกับความสามารถของตน ครอบครัวของคุณอาจมีโอกาสได้ยินดี
เช่นเดียวกับครอบครัวของเด็กน้อยเดวิด โฮเวลล์ (David Howell) นักเล่นหมากรุกวัย 8 ขวบ ในการแข่งขันเกมลับสมองโอลิมปิกครั้งที่ 3 เมื่อเดือนสิงหาคม ปี 2542 ที่ลอนดอน ในการแข่งขันหมากรุกแบบเร็ว (Speed Chess Tournament) เดวิดสามารถเอาชนะจอห์น นันน์ (John Nunn) ซึ่งเป็นเซียนระดับนานาชาติ อดีตผู้ชนะเลิศการแข่งขันหมากรุกของอังกฤษ และผู้ที่เขียนหนังสือเกี่ยวกับกลยุทธ์การเล่นหมากรุกระดับแนวหน้าของโลก ได้อย่างสบายๆ และเฉียบขาด
ปีนี้เดวิดอายุ 18 ปี เขาเริ่มหัดเล่นหมากรุกตั้งแต่อายุ 5 ปีแปดเดือนพออายุได้ 14 ปี ก็จัดว่าเป็นนักหมากรุกเมืองผู้ดีที่ได้คะแนนสูงสุดในกลุ่มอายุต่ำกว่า 21 ปี ลองชวนครอบครัวแวะไปเยี่ยมเขาได้ที่ และ http://davidhowellchess.blogspot.com/
โดย : ธัญญา ผลอนันต์ / sanook.com
Advertisement
เปิดอ่าน 1,122 ครั้ง เปิดอ่าน 16,015 ครั้ง เปิดอ่าน 2,828 ครั้ง เปิดอ่าน 27,046 ครั้ง เปิดอ่าน 9,328 ครั้ง เปิดอ่าน 10,969 ครั้ง เปิดอ่าน 12,390 ครั้ง เปิดอ่าน 31,246 ครั้ง เปิดอ่าน 18,738 ครั้ง เปิดอ่าน 10,993 ครั้ง เปิดอ่าน 4,032 ครั้ง เปิดอ่าน 1,190 ครั้ง เปิดอ่าน 8,498 ครั้ง เปิดอ่าน 12,141 ครั้ง เปิดอ่าน 23,031 ครั้ง เปิดอ่าน 14,967 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 15,796 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 9,748 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 14,526 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 15,386 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 9,599 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 22,537 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 14,192 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 292,677 ครั้ง |
เปิดอ่าน 14,409 ครั้ง |
เปิดอ่าน 16,862 ครั้ง |
เปิดอ่าน 15,962 ครั้ง |
เปิดอ่าน 58,218 ครั้ง |
|
|